วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปผลการเรียนรู้ครั้งที่ 2-3

บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
ผู้บริหารต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ 3 ด้าน คือ
1.ด้านการวางแผน
2.ด้านการตัดสินใจ
3.ด้านการดำเนินงาน
การตัดสินใจมี 3 ระดับและ 3 ลักษณะ คือ
1.ระดับสูง จะมีลักษณะที่ไม่ใช่งานประจำ ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผลกระทบ
ของการตัดสินใจเกิดขึ้นนาน
2.ระดับกลาง มีลักษณะเป็นงานประจำ ปัญหาที่เป็นกึ่งโครงสร้าง ผลกระทบของ
การตัดสินใจปานกลาง
3.ระดับปฏิบัติการ มีลักษณะที่เกิดขึ้นกับงานประจำ เกิดขึ้นบ่อยๆ ปัญหาแบบมี
โครงสร้าง ผลกระทบของการตัดสินใจเกิดขึ้นระยะสั้น
ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร
1. TPS.เป็นสารสนเทศระดับล่างสุด ที่สนับสนุนการทำงานในระดับปฏิบัติการ ถ้าระบบนี้ทำงานได้ไม่ดีหรือมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น จะทำให้ข้อมูลขาดประสิทธิภาพก็จะเกิดผลกระทบทั้งองค์กร ดังนั้นจึงถือได้ว่า TPS.มีความสำคัญสูงสุดสำหรับองค์กรณ์
2. MIS.เป็นระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร ใช้สนับสนุนการดำเนินงาน การจัดการ และการตัดสิน ใจของผู้บริหาร เป็นงานที่ได้รับการส่งต่อจาก TPS.
3. OIS.เป็นระบบการจัดสารสนเทศในสำนักงาน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานภายในหน่วยงานเดียวกัน
4. DSS.เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง โดยมีการใช้ Model ในการแก้ปัญหา เป็นระบบสารสนเทศแบบโต้ตอบได้ DSS.ไดถูกจำลองลักษณะการตัดสินใจด้วยการนำค่าการนำเข้าของการตัดสินใจมาคำนวณด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้นๆ
5. ESS.เป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง พัฒนามาจาก DSS และ MIS โดยมี TPS เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญ เป็นระดับการทำงานขององกรณ์ขั้นสูงสุด การตัดสินใจจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนกลยุทธ์

บทที่ 4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ
1.ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2.เกิดการพัฒนาการใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
3.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
4.มีบทบาทในวงการธุรกิจ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
-ในด้านบวก
1.ช่วยให้การดำรงชีวิตของมนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.ช่วยพัฒนาระบบการทำงานให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และประหยัด
3.ทำให้เกิดระบบการทำงานร่วมกันได้ในทุกที่ ทุกเวลา เช่น ระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนส์
4.ช่วยงานด้านการแพทย์ให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ช่วยส่งเสริมสุขภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
5.ช่วยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการศึกษาด้วยตนเอง
-ในด้านลบ
1.อาจเกิดความขัดแย้งทางความคิดในสังคม จากคนที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
2.เกิดอาชญากรรมทางด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น ความมีน้ำใจลดลง ความเห็นแก่ตัวเพิ่มขึ้น
3.อัตราการจ้างงานลดลงจากการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงานคน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาด้านการเมือง และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการเมืองต่างๆ ตลอดจนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมีมากขึ้น
เทคโนโลยีสมัยใหม่
มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการจัดการความรู้ (KM : Knowledge management) โดยข้อมูลจะถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศแล้วพัฒนาไปสู่ความรู้และในที่สุดคือ การสร้างปัญญา เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหา
กลยุทธ์ : การหาแนวทางให้องค์กรสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ กลยุทธ์ที่สำคัญที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
1.เน้นลูกค้าเป็นสำคัญ
2.การพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ
3.การนำเสนอคุณค่าที่แตกต่างให้กับลูกค้า
4.การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสม
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์
1.การวิเคราะห์กลยุทธ์ (SWOT Analysis)
-Internal Analysis
1. จุดแข็ง
2. จุดอ่อน
-External Analysis
1. โอกาส
2. อุปสรรค
2.การจัดทำกลยุทธ์
1.วิสัยทัศน์
2.พันธกิจ
3.เป้าหมาย
3.การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ โดยใช้เครื่องมือที่สำคัญ คือ Balanced Scorecard และ Benchmark

บทที่ 5. ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
ความหมาย : การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่ง
ประดิษฐ์ที่ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยประหยัดเวลาในการเรียน
ความสำคัญ : การศึกษาจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม
เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลียนแปลงของเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้ง่เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้น นำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษา
ขอบข่าย : วิธีการเรียนการสอน เทคนิควิธีการสอนการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการออกแบบหลักสูตรให้มีการบูรณาการให้สอดคล้องกับการวัดผล
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา :
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ความพร้อม
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4. ประสิทธิภาพในการเรียน
การจัดการนวัตกรรมการศึกษา :
1. e-learning
2. ห้องเรียนเสมือนจริง
3. การศึกษาทางไกล
4. การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย Internet
5. มิติใหม่แห่งการศึกษาไร้พรมแดน
6. สื่อหลายมิติ

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมีอยู่จำนวนมาก เช่น

-การเรียนการสอนผ่านเว็บไซด์

-บทเรียนออนไลน์ หรือ e-Learning : คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนบนเว็บ การเรียนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือการเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์

- Mobile Learning

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้มีการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของประเทศไทยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อ Suan Dusit Internet Broadcasting : SDUB

ห้องสมุดเสมือนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สืบค้นสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้กับนักศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น