วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชา การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (1061601)

ความรู้เดิมมีเท่าหางอึ่ง
หลังจากที่ได้เรียนกับอาจารย์แล้วทำให้ดิฉันทราบเกี่ยวกับ
  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • เทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา
  • การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
  • เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมือง
  • นวัตกรรมทางการศึกษาและการประยุกต์ใช้
  • คุณธรรม-จริยธรรมและกฎหมายในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการศึกษาในอนาคต
  • การสร้าง blog
  • การสื่อสารผ่าน e-mail
  • การสืบค้นข้อมูลหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต
นอกจากที่อาจารย์สอนตามเนื้อหาแล้ว ดิฉันยังได้ประโยชน์อีกหลายๆอย่างจากอาจารย์ค่ะ เช่น คุณสมบัติของความเป็นครูซึ่งดิฉันไม่มีประสบการณ์เลยจะได้นำไปเป็นแบบอย่างถ้าหากดิฉันจะได้เปลี่ยนวิชาชีพจริงๆ
ดิฉันรู้สึกมีความสุขและไม่เคยรู้สึกเบื่อที่จะเรียนวิชานี้กับอาจารย์เลยค่ะ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์ผู้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ลูกศิษย์ด้วยความตั้งใจ และมุ่งมั่นที่จะให้ศิษย์นำไปใช้ได้จริง ดิฉันจะไม่ทำให้อาจารย์ผิดหวังค่ะ
ขอบคุณค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

นวัตกรรมทางการศึกษา 2

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความพึงพอใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวังไกลกังวล และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่อวิธีการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
ชื่อนักศึกษา : ทัศนีย์ สิงห์เจริญ
สถาบัน : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ปี : 2543
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.lib.ru.ac.th/
จำนวนเปิดอ่าน : 152 ครั้ง
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวังไกลกังวล และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ต่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียมใน 4 ด้าน ด้านเนื้อหาวิชา
4 วิชา ด้านบุคลากร ด้านสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน และด้าน อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถาม ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวังไกลกังวล และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ จำนวน 303 คน ได้รับกลับคืนทั้งหมด 267 คน คิดเป็นร้อยละ 88.12 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าความถี่ตามลำดับ ผลการวิจัยปรากฏผลดังต่อไปนี้ : 1 ด้านเนื้อหาวิชา 4 วิชา
พบว่านักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจในการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียมทั้ง 4 หมวดวิชา คือ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย และวิชาภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมาก 2 ด้านบุคลากร พบว่า นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจ ครูประจำในทีวี ครูควบคุม ในห้องเรียน ครูพิเศษและผู้ดำเนินรายการ อยู่ในระดับมาก 3 ด้านสภาพแวดล้อมในห้องเรียน พบว่า นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจเรื่องความ พร้อมของอุปกรณ์ต่าง ๆ และจำนวนโต๊ะเก้าอี้ที่มีอยู่ในห้องเรียน สภาพห้องเรียนที่เอื้ออำนวยให้นักเรียน เกิดความสะดวกในการเรียนการสอน และห้องเรียนเป็นสัดส่วนเฉพาะไม่มีสิ่งรบกวนเวลาออกอากาศ อยู่ในระดับมาก 4 ด้านอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจเรื่อง
การเรียน การสอนที่มีการใช้รูปภาพประกอบการสอนอยู่ในระดับมาก

เอกสารอ้างอิง
ทัศนีย์ สิงห์เจริญ.(2543).ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวังไกลกังวล และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่อวิธีการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิ่งที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าบทวิจัยนี้คือ
1.ทราบแหล่งค้นหาวิทยานิพนธ์ต่างๆ

2.ได้เรียนรู้วิธีการเขียนบทคัดย่อของวิทยานิพนธ์

3.ได้เรียนรู้ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิทยานิพนธ์

4.ได้ทราบผลของการทำวิจัยเรื่องนี้คือ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อวิธีการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม

5.ได้เรียนรู้วิธีการเขียนบรรณานุกรมท้ายเล่ม

นวัตกรรมทางการศึกษา1

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาความจำเป็นและความต้องการนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนในการปฏิรูปการศึกษา ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อนักศึกษา : ขจิตพรรณ จันทรสาขา
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ครุศาสตร์
สาขา : โสตทัศนศึกษา
ปี : 2545
ISBN : 974-17-3282-1
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.car.chula.ac.th/
จำนวนเปิดอ่าน : 61 ครั้ง
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความจำเป็นและความต้องการนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนในการปฏิรูปการศึกษา ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ และขนาดกลางและเล็กกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน400 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า ครูส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า นวัตกรรมสื่อการเรียนการสอน มีความจำเป็นในการปฏิรูปการศึกษา ในระดับปานกลาง และครูมีความต้องการคอมพิวเตอร์ โปรแกรมการนำเสนอบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วนสอน (CAI) เครื่องเล่นวีซีดีและดีวีดี การเรียนการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนการสอนแบบบูรณาการ
การฝึกปฏิบัติจริงอินเทอร์เน็ตเครือข่าย Schoolnet และ การใช้ดาวเทียมถ่ายทอดการเรียนการสอนในระดับมาก นอกจากนั้นมีความต้องการในระดับปานกลาง ครูโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ และขนาดกลางและเล็ก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นของนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอน ทั้งประเภทวัสดุและอุปกรณ์และประเภทวิธีการส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการของนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอน ทั้งประเภทวัสดุและอุปกรณ์และประเภทวิธีการส่วนใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เอกสารอ้างอิง
ขจิตพรรณ จันทรสาขา.(2545).การศึกษาความจำเป็นและความต้องการนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนในการปฏิรูปการศึกษาของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สิ่งที่ได้รับจากการค้นคว้าบทวิจ้ยนี้คือ

  1. ทราบแหล่งค้นคว้าหาวิทยานิพนธ์ทางอินเตอร์เน็ต
  2. ได้เรียนรู้วิธีการเขียนบทคัดย่อของวิทยานิพนธ์
  3. ได้เรียนรู้ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิทยานิพนธ์
  4. ได้ทราบผลของการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ครูมีความจำเป็นและความต้องการใช้นวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนในการปฏิรูปการศึกษา
  5. ได้ศึกษาวิธีการเขียนบรรณานุกรมท้ายเล่ม

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปผลการเรียนรู้ครั้งที่ 2-3

บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
ผู้บริหารต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ 3 ด้าน คือ
1.ด้านการวางแผน
2.ด้านการตัดสินใจ
3.ด้านการดำเนินงาน
การตัดสินใจมี 3 ระดับและ 3 ลักษณะ คือ
1.ระดับสูง จะมีลักษณะที่ไม่ใช่งานประจำ ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผลกระทบ
ของการตัดสินใจเกิดขึ้นนาน
2.ระดับกลาง มีลักษณะเป็นงานประจำ ปัญหาที่เป็นกึ่งโครงสร้าง ผลกระทบของ
การตัดสินใจปานกลาง
3.ระดับปฏิบัติการ มีลักษณะที่เกิดขึ้นกับงานประจำ เกิดขึ้นบ่อยๆ ปัญหาแบบมี
โครงสร้าง ผลกระทบของการตัดสินใจเกิดขึ้นระยะสั้น
ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร
1. TPS.เป็นสารสนเทศระดับล่างสุด ที่สนับสนุนการทำงานในระดับปฏิบัติการ ถ้าระบบนี้ทำงานได้ไม่ดีหรือมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น จะทำให้ข้อมูลขาดประสิทธิภาพก็จะเกิดผลกระทบทั้งองค์กร ดังนั้นจึงถือได้ว่า TPS.มีความสำคัญสูงสุดสำหรับองค์กรณ์
2. MIS.เป็นระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร ใช้สนับสนุนการดำเนินงาน การจัดการ และการตัดสิน ใจของผู้บริหาร เป็นงานที่ได้รับการส่งต่อจาก TPS.
3. OIS.เป็นระบบการจัดสารสนเทศในสำนักงาน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานภายในหน่วยงานเดียวกัน
4. DSS.เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง โดยมีการใช้ Model ในการแก้ปัญหา เป็นระบบสารสนเทศแบบโต้ตอบได้ DSS.ไดถูกจำลองลักษณะการตัดสินใจด้วยการนำค่าการนำเข้าของการตัดสินใจมาคำนวณด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้นๆ
5. ESS.เป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง พัฒนามาจาก DSS และ MIS โดยมี TPS เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญ เป็นระดับการทำงานขององกรณ์ขั้นสูงสุด การตัดสินใจจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนกลยุทธ์

บทที่ 4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ
1.ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2.เกิดการพัฒนาการใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
3.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
4.มีบทบาทในวงการธุรกิจ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
-ในด้านบวก
1.ช่วยให้การดำรงชีวิตของมนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.ช่วยพัฒนาระบบการทำงานให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และประหยัด
3.ทำให้เกิดระบบการทำงานร่วมกันได้ในทุกที่ ทุกเวลา เช่น ระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนส์
4.ช่วยงานด้านการแพทย์ให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ช่วยส่งเสริมสุขภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
5.ช่วยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการศึกษาด้วยตนเอง
-ในด้านลบ
1.อาจเกิดความขัดแย้งทางความคิดในสังคม จากคนที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
2.เกิดอาชญากรรมทางด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น ความมีน้ำใจลดลง ความเห็นแก่ตัวเพิ่มขึ้น
3.อัตราการจ้างงานลดลงจากการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงานคน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาด้านการเมือง และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการเมืองต่างๆ ตลอดจนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมีมากขึ้น
เทคโนโลยีสมัยใหม่
มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการจัดการความรู้ (KM : Knowledge management) โดยข้อมูลจะถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศแล้วพัฒนาไปสู่ความรู้และในที่สุดคือ การสร้างปัญญา เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหา
กลยุทธ์ : การหาแนวทางให้องค์กรสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ กลยุทธ์ที่สำคัญที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
1.เน้นลูกค้าเป็นสำคัญ
2.การพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ
3.การนำเสนอคุณค่าที่แตกต่างให้กับลูกค้า
4.การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสม
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์
1.การวิเคราะห์กลยุทธ์ (SWOT Analysis)
-Internal Analysis
1. จุดแข็ง
2. จุดอ่อน
-External Analysis
1. โอกาส
2. อุปสรรค
2.การจัดทำกลยุทธ์
1.วิสัยทัศน์
2.พันธกิจ
3.เป้าหมาย
3.การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ โดยใช้เครื่องมือที่สำคัญ คือ Balanced Scorecard และ Benchmark

บทที่ 5. ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
ความหมาย : การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่ง
ประดิษฐ์ที่ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยประหยัดเวลาในการเรียน
ความสำคัญ : การศึกษาจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม
เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลียนแปลงของเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้ง่เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้น นำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษา
ขอบข่าย : วิธีการเรียนการสอน เทคนิควิธีการสอนการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการออกแบบหลักสูตรให้มีการบูรณาการให้สอดคล้องกับการวัดผล
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา :
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ความพร้อม
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4. ประสิทธิภาพในการเรียน
การจัดการนวัตกรรมการศึกษา :
1. e-learning
2. ห้องเรียนเสมือนจริง
3. การศึกษาทางไกล
4. การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย Internet
5. มิติใหม่แห่งการศึกษาไร้พรมแดน
6. สื่อหลายมิติ

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมีอยู่จำนวนมาก เช่น

-การเรียนการสอนผ่านเว็บไซด์

-บทเรียนออนไลน์ หรือ e-Learning : คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนบนเว็บ การเรียนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือการเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์

- Mobile Learning

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้มีการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของประเทศไทยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อ Suan Dusit Internet Broadcasting : SDUB

ห้องสมุดเสมือนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สืบค้นสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้กับนักศึกษา

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ภาพประทับใจ



ภาพนี้น่ารักไหมค่ะ เขาเป็นลูกชายของดิฉันเองค่ะ เกิดเมื่อ 21 พค. 2549 ภาพนี้ถ่ายตอนที่เขาอายุขวบกว่าๆ ตอนนั้นยังไม่ค่อยรู้เรื่องจับวางตรงไหนก็ได้ จัดฉากแบบไหนก็ไม่ขัดขืน แต่ตอนนี้สิค่ะ ไม่ได้เลย มีความมั่นใจในตัวเองสูง ถ้าจะถ่ายรูปขอโพสต์ท่าเองเลยค่ะ



เมื่อดิฉันดูภาพนี้แล้ว ทำให้ดิฉันนึกถึงวันที่พาลูกชายไปกินข้าวที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งที่ชายหาดเขากะโหลก อ.ปราณบุรี หลังจากกินข้าวเสร็จก็พากันไปเดินเล่นที่ชายหาด เพื่อนดิฉันคนหนึ่งพาน้องเจได(ชื่อลูกชายดิฉันค่ะ)ไปวาดรูปเล่นบนทราย มีรูปต่างๆมากมาย หนึ่งในนั้นมีรูปเรืออยู่ 1 ภาพ จากนั้นก็มีเรือประมงลำหนึ่งแล่นมาใกล้ๆบริเวณนั้น พี่คนหนึ่งที่ไปด้วยก็ถามน้องเจไดว่า "เจไดครับ ไปนั่งเรือไหมครับ" ลูกชายดิฉันไม่ได้ตอบคำถามหรอกค่ะ แต่เขาเดินไปนั่งบนภาพวาดรูปเรือที่เพื่อนดิฉันวาดไว้นั่นแหละค่ะ ทุกคนต่างพากันหัวเราะอย่างสนุกสนาน

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1

ดิฉัน พ.ต.หญิง ขนิษฐา บุญรอด อายุ 33ปี จบการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
ปัจจุบันทำงานที่รพ.ค่ายธนะรัชต์ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบฯในตำแหน่งพยาบาลห้องผ่าตัด
จากการเข้าศึกษาในชั้นเรียนวิชา การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหารเมื่อวันที่ 31 พค.2552
และมีการบ้านดังนี้

3.ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้ในเนื้อหาของเมล์
3.1ความรู้ที่นักศึกษาได้รับจากการเรียนในครั้งนี้โดยสรุป
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
-เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)หมายถึง กระบวนการในการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผล และนำเสนอในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความและตัวเลข เป็นต้น
-ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นที่ควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อไป
- สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และการดำเนิงาน
-ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรอง หรือประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ เพื่อจะสนับสนุนการปฏิบัติงานขององค์กร
-องค์ประกอบที่สำคัญในการดำเนินงานของระบบ คือ
1.Input
2.Process
3.Output
4.Feedback
-หน้าที่พื้นฐานของระบบสารสนเทศ คือ
1.Input function
2.Storage function
3.Processing function
4.Output function
5.Communication function
-ความสำคัญของระบบสารสนเทศ
1.การแข่งขันทางการค้า
2.การขยายเครือข่ายทางการค้า
3.การท้าทายของเศรษฐกิจโลก
4.ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.Communication function
-โครงสร้างของระบบสารสนเทศมีลักษณะคล้ายรูปปิรามิด คือมีฐานกว้างและส่วนยอดแคบ ซึ่งหมายถึง ผู้บริหารแต่ละระดับต้องการใช้สารสนเทศที่แตกต่างกัน ผู้บริหารระดับล่างต้องการสารสนเทศที่ละเอียดเพื่อใช้ในการพัฒนางาน แต่ผู้บริหารระดับสูงต้องการสารสนเทศแบบสรุปที่กลั่นกรองจากด้านล่างแล้วเพื่อใช้ในการตัดสินใจและวางแผนระยะยาว แต่ถ้าแบ่งโครงสร้างของระบบสารสนเทศตามลักษณะกิจกรรม ระดับล่างคือระดับปฏิบัติงานจนถึงระดับสูงที่ต้องวางแผน และบริหารงานทั้งองค์กร
-การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ คือ การจัดการสารสนเทศโดยใชั Hardware,Software,บุคคลากรด้านคอมพิวเตอร์ และวิธีการในการทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการจัดการทรัพยากรสารสนเทศเน้นที่คุณค่าของสารสนเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
บทที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา
-บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา:ช่วยพัฒนาการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษาในสถานศึกษา ทั้งในด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอน การวิจัย และการบริการสังคม สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึง ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองได้มากขึ้น
-ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library)หมายถึง แหล่งรวมของแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อดิจิตอลประเภทต่างๆ โดยออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้สนับสนุนการเรียนการสอนในสถานศึกษา
-Distance Learning คือ การจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้บุคคลเข้าเรียนได้โดยไม่ต้องมานั่งเรียนในชั้นเรียน ยุคแรก ใช้วิธีการเรียนทางไปรษณีย์ ต่อมาใช้วิทยุกระจายเสียง ในปัจจุบันใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
-e-learning :เป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นการศึกษาด้วยตนเอง โดยเนื้อหาของบทเรียนจะอยู่ในรูปของมัลติมีเดีย จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน web browser ทั้งนี้ผู้เรียนจะสามารถศึกษาได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ โดยทั้งผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้แหมือนการเรียนในชั้นเรียนปกติ
-Computor Aided Instruction(CIA.):กระบวนการเรียนการสอนที่ใช้สื่อคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอเนื้อหา หรือสารสนเทศแบบฝึกหัด แบบทดสอบ และให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนได้ทันที ลักษณะการเรียนเป็นแบบมีปฏิสัมพันธ์ คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนและคอมพิวเตอร์ได้
- e-Book :เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกนำมาจัดพิมพ์ในรูปแบบดิจิตอล สามารถจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและมีการเชื่อมต่อกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆได้เพราะอยู่บนเครือข่ายเดียวกันและมีบราวเซอร์ที่สามารถดึงข้อมูลมาให้ตามความต้องการเหมือนการใช้อินเตอร์เน็ตทั่วไป
-นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ พศ.2544-2553มีเป้าหมายในการสร้างความพร้อมของทรัพยากรมนุษย์ทั้งหมดของประเทศ เพื่อช่วยกันพัฒนาให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
-แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงศึกษาธิการ พศ.2550-2554
วิสัยทัศน์:ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษาและประชาชนใช้ประโยชน์จาก ICT.ในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาได้เ เต็มศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทาง ICT.ตามมาตรฐานสากล
พันธกิจ:
1.การใช้ ICT.พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพ การเรียนรู้
2.การใช้ ICT.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการศึกษา
3.การผลิตและพัฒนาคุณภาพผู้จบการศึกษาด้าน ICT.เพื่อการพัฒนาประเทศ
:โดยปกติแล้วดิฉันไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ สักเท่าไหร่ เพิ่งเริ่มใช้คอมพืวเตอร์ในงานประจำเมื่อ 3-4ปีมานี้เองและไม่ได้ใช้บ่อยจึงไม่ค่อยชำนาญ แค่พิมพ์งานได้เล็กน้อย การใช้อินเตอร์เน็ตได้นิดหน่อย แต่หลังจากฟังบรรยายและฝึกปฏิบัติที่ อ.ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์ เป็นผู้สอนทำให้ดิฉันมีความรู้เกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งหาความรู้ สามารถรับและส่งเมล์ได้ดีขึ้น ตลอดจนได้รับรู้เทคนิคบางอย่างที่ไม่เคยทราบมาก่อน
3.2ประโยชน์ที่มีของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ต่อกระบวนการจัดการศึกษา
:ระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต เป็นแหล่งหาความรู้ที่สำคัญมากในยุคนี้ เพราะมีข้อมูลมากพอที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ค้นหาได้หลากหลาย อีกทั้งยังสะดวกสบายในการใช้ สามารถศึกษาค้นคว้าได้ทุกที่ ทุกเวลา มีความรวดเร็วในการได้รับข้อมูลไม่ต้องเสียเวลาหาตามหนังสือในห้องสมุดซึ่งไม่รู้ว่าจะมีในห้องสมุดใดบ้าง หรือจะเรียกว่า เป็นการศึกษาแบบไร้พรมแดนก็ได้
3.3เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ตกับการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอ์ส่วนบุคคล
:สำหรับคำถามข้อนี้ ดิฉันไม่ทราบคำตอบมาก่อนจึงหาข้อมูลมาจากอินเตอร์เน็ต และการสอบถามผู้รู้ แต่ก็ไม่มั่นใจเลยว่าดิฉันจะเข้าใจถูกต้องหรือไม่ถ้าโปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต หมายถึง web application และ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หมายถึง personal computer ในความเข้าใจของดิฉันคือ web application:สามารถนำเสนอข้อมูลที่เราต้องการได้อย่างรวดเร็ว ครบถ้วน เพราะมีระบบการจัดการข้อมูลที่ดี ยกตัวอย่างเช่น การหาข้อมูลมาตอบคำถามข้อนี้ ดิฉันก็ค้นคว้ามาจากอินเตอร์เน็ตpersonal computer:ในกรณีเดียวกัน ถ้าดิฉันมีเพียงคอมพิวเตอร์อย่างเดียวโดยที่ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ดิฉันก็ไม่สามารถหาข้อมูลได้เลยเนื่องจากในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะมีเพียงโปรแกรมการทำงานที่เราตั้งค่าไว้เท่านั้น

แนะนำตัว